การจัดทำรหัส ของ ISO 639-2

รหัสที่แสดงแทนภาษาต่าง ๆ นี้ ประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก 3 ตัว โดยที่ตัวอักษรเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นตัวอักษรย่อของภาษานั้น ๆ แต่สามารถใช้รหัสนั้นในการจำแนกภาษาได้

มาตรฐานกลุ่มนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มรหัสที่ใช้ในงานบรรณานุกรม (ISO 639-2/B) หรือ รหัสกลุ่ม B และ กลุ่มรหัสที่ใช้ในงานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ (ISO 639-2/T) หรือ รหัสกลุ่ม T

โดยมีเงื่อนไขในการจัดรหัสสำหรับงานบรรณานุกรม หรือ รหัสกลุ่ม B คือ

  • รหัสที่ประเทศเหล่านั้นเลือกใช้
  • รหัสที่มีการใช้แล้วในระดับประเทศและนานาชาติ
  • ชื่อของภาษานั้นหรือสัญลักษณ์แทนในภาษาอังกฤษแทนภาษานั้น ๆ

เงื่อนไขในการจัดรหัสสำหรับงานที่ต้องเกี่ยวกับศัพท์บัญญัติเฉพาะทาง หรือ รหัสกลุ่ม T คือ

  • รหัสที่มีการใช้แล้วในระดับประเทศและนานาชาติ
  • ชื่อแทนของภาษานั้นหรือสัญลักษณ์แทนในภาษาอังกฤษแทนภาษานั้น ๆ

โดยการจัดรหัสทั้งสองแบบนี้มีเพียง 23 ภาษาเท่านั้นที่มีรหัสแตกต่างกัน โดยที่ในอนาคตการกำหนดรหัสจะขึ้นอยู่กับชื่อแทนของภาษานั้น ยกเว้นแต่กรณีที่ประเทศนั้น ๆ หรือกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษานั้น ๆ ร้องขอ แต่เพื่อให้เกิดความเสถียรภาพและความต่อเนื่อง การเปลี่ยนรหัสเหล่านี้จะทำได้เมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และรหัสเดิมจะยังคงต้องใช้อยู่อย่างน้อย 5 ปีก่อนที่จะมีการใช้รหัสใหม่แทนที่หลังจากที่ได้มีการร้องขอให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามรหัสในกลุ่มบรรณานุกรมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงถ้าชื่อของภาษาหรือสัญลักษณ์ย่อของภาษาเปลี่ยนด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในกรณีที่ภาษาเดียวกันแต่มีการเขียนต่างกันจะใช้รหัสแทนภาษาตัวเดียวกันแต่อาจมีมาตรฐานอื่นเพิ่มขึ้นเพื่อแยกให้เห็นระบบการเขียนที่แตกต่างกัน สำหรับกรณีภาษาท้องถิ่นก็จะใช้รหัสเดียวกับภาษานั้น ๆ ยกเว้นบ้างในกรณีที่ภาษาท้องถิ่นนั้นมีลักษณะที่ไม่สามารถบอกรากที่มาของภาษานั้น ๆ ได้ชัดเจนก็สามารถมีรหัสภาษาของตัวเองได้ (ซึ่งมีปรากฏอยู่น้อยกรณี)